ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ปัจจุบันการใช้พลาสติกยังคงเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่มีวิธีการใดสามารถกำจัดขยะพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ขยะพลาสติกจำนวนมากถูกกำจัดไม่ถูกวิธี จากข้อมูลการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในประเทศไทย ปี 2558 พบว่า ขยะประมาณร้อยละ 10 ของขยะตกค้างที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีจะถูกปล่อยลงมหาสมุทร คิดเป็น 50,000-60,000 ตันต่อปี หรือประมาณ 750 ล้านชิ้น โดยขยะถุงพลาสติกและหลอดพลาสติกพบมากเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ตามลำดับ
 
 
(ที่มา : http://www.moveworldtogether.com/TH/article-detail.php?ID=22)
 
       ทั้งนี้ ปัญหาขยะจากหลอดพลาสติกกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของการจัดการขยะทั่วโลก เนื่องจากเป็นขยะพลาสติกขนาดเล็กที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว และย่อยสลายยากต้องใช้เวลามากถึง 200 ปี ซึ่งหากถูกลมและฝนพัดพาลงสู่ทะเล และแม่น้ำลำคลอง ขยะเหล่านี้ก็จะไหลลงไปกองรวมกันอยู่ในมหาสมุทร ส่งผลให้เต่า โลมา หรือสัตว์น้ำอื่นๆ กินเข้าไปจนเกิดอันตราย รวมทั้ง พลาสติกที่ปะปนอยู่ในระบบนิเวศทางทะเลจะละลายไมโครพลาสติกออกมาจนอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำและมนุษย์ที่บริโภคสัตว์น้ำนั้นได้
 
                                                           
 
(ที่มา : https://m.mgronline.com/greeninnovation/detail/9610000052319)
 
       ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารหลายๆ ประเทศได้ตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงร่วมกันรณรงค์ให้ลดและเลิกใช้หลอดดูดน้ำพลาสติก โดยหันมาเลือกใช้หลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถย่อยสลายได้ง่าย ทดแทนการใช้หลอดพลาสติก ซึ่งหลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่ที่มักนิยมนำมาใช้กัน ได้แก่
       1. หลอดดูดน้ำ Lolistraw เป็นหลอดที่ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ คือ สาหร่ายทะเล ซึ่งย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ จนไม่เหลือเศษขยะ รวมทั้งเป็นหลอดที่สามารถรับประทานได้ เพราะนอกจากมีสีสันที่สวยงามแล้วยังมีรสชาติให้เลือกหลากหลาย มีอายุการใช้งานได้นาน 24 ชั่วโมง และหากยังไม่ใช้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 24 เดือน
       2. หลอดดูดน้ำจากไม้ไผ่ เป็นหลอดดูดน้ำชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เพราะมีรูปทรงกะทัดรัด มีความแข็งแรง และผลิตจากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้ดูดเครื่องดื่มต่างๆ ได้ดีเหมือนหลอดพลาสติกทั่วไป โดยหลอดดูดน้ำจากไม้ไผ่ 1 หลอด สามารถใช้ซ้ำได้ประมาณ 100 ครั้ง
 
                                                    หลอดดูดน้ำ Lolistraw                                                                                  หลอดดูดน้ำจากไม้ไผ่
 
                                                           
 
                         (ที่มา : https://www.ananda.co.th/blog/thegenc/lolistraw/)                                         (ที่มา : http://t.blogtamsu.video/9653.html)
 
       3. หลอดดูดน้ำจากก้านผักบุ้ง โดยผักบุ้งที่นำมาใช้เป็นหลอดดูดน้ำต้องผ่านการคัดเลือก และนำมาทำความสะอาดอย่างถูกวิธีด้วยการแช่ผักบุ้งในน้ำที่ผสมเบกกิ้งโซดา ประมาณ  15 นาที จากนั้นนำไปล้างน้ำสะอาดอีก 3 ครั้ง แล้วค่อยนำก้านผักบุ้งมาใช้เป็นหลอดดูดน้ำ สามารถใช้งานได้แค่ครั้งเดียว ซึ่งระยะเวลาย่อยสลายประมาณ 3-5 วัน
       4. หลอดดูดน้ำจากตะไคร้ เป็นหลอดดูดน้ำจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย เนื่องจากลักษณะของตะไคร้มีความยาวตลอดต้น เปลือกแข็ง จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นหลอดดูดน้ำได้อย่างเป็นดี และหลังจากใช้งานเสร็จสามารถนำมารวมกับขยะสดประเภทอื่นเพื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย
 
                                                  หลอดดูดน้ำจากก้านผักบุ้ง                                                                               หลอดดูดน้ำจากตะไคร้
 
                                                          
 
(ที่มา : https://www.idealize.co.th/blog/8-หลอดดูดน้ำ/)
 
       5. หลอดดูดน้ำจากเส้นพาสต้า ร้านอาหารในต่างประเทศนำเส้นพาสต้ามาใช้เป็นหลอดดูดน้ำแทนหลอดพลาสติก เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่หาซื้อง่าย ไม่ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่ม และไม่มีกลิ่นรบกวน รวมทั้งยังช่วยลดขยะที่มีมากเกินความจำเป็นในแต่ละวัน 
       6. หลอดดูดน้ำจากกระดาษชุบไข หลอดดูดน้ำชนิดนี้ผลิตมาจากกระดาษที่เคลือบทับอีกชั้นด้วยไขขี้ผึ้ง ถูกออกแบบมาสำหรับใช้แล้วทิ้ง ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เนื่องจากมีความเปื่อยยุ่ย ทำให้ไม่สามารถแช่หลอดทิ้งไว้ในแก้วได้นาน ไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ แต่สามารถย่อยสลายได้ง่ายกว่าหลอดพลาสติก
 
                                                 หลอดดูดน้ำจากเส้นพาสต้า                                                                        หลอดดูดน้ำจากกระดาษชุบไข 
 
                                                        
 
                                (ที่มา : http://realmetro.com/หลอดเส้นพาสต้า/)                                (ที่มา : https://www.prachachat.net/public-relations/news-281946)
 
       7. หลอดดูดน้ำจากซังข้าว หลอดดูดน้ำชนิดนี้ถือเป็นผลพลอยได้จากการทำนา ในขั้นตอนของการเก็บเกี่ยว โดยการใช้หลอดดูดน้ำจากซังข้าวเป็นการช่วยลดขยะที่มีโอกาสลงไปสู่ท้องทะเลได้ดี ดังเช่นตัวอย่างของชุมชนเกาะยาวใหญ่ที่ผู้คนในเกาะปลูกข้าวไว้ทานเอง
       8. หลอดดูดน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนใหญ่เป็นหลอดดูดน้ำที่ผลิตขึ้นจากวัสดุสังเคราะห์ เพื่อให้สามารถทำความสะอาดแล้วใช้ซ้ำได้ เช่น หลอดพลาสติกแข็ง หลอดสแตนเลส หลอดซิลิโคน และหลอดแก้ว มักมีให้เลือกหลากหลายสีสัน 
 
                                                    หลอดดูดน้ำจากซังข้าว                                                                 หลอดดูดน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
 
                                                                                   
 
(ที่มา : https://www.bluemochatea.com/2018/08/05/หลอดดูดทางเลือกใหม่ลดก/)
 
       การเลือกใช้หลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่เหล่านี้นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่มากเกินความจำเป็น  ดังนั้น หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันคนละเล็กละน้อยก็สามารถช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ไปนานๆ อีกด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
นิตยสารบ้านและสวน. 8 หลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่เพื่อคนที่อยากหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 11 มีนาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://www.baanlaesuan.com/112765/diy/easy-tips/reusable-straw
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต). หลอดน้ำพลาสติก, ขยะชิ้นเล็ก ที่สังคมไม่ควรมองข้าม. [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 11 มีนาคม 2562].  เข้าถึงจาก :http://www.moveworldtogether.com/TH/article-detail.php?ID=22
สรรพร  อุไรกุล. เสียงร่ำไห้จากมหาสมุทร: ความโหดร้ายของหลอดพลาสติกที่เราอาจละเลย.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 11 มีนาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59982/
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. หลอดกาแฟรักษ์โลกทางเลือกใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 11 มีนาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.prachachat.net/public-relations/news-281946