ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ต้องทำงานแข่งกับเวลา อาหารแช่เยือกแข็ง (Frozen food) จึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น ส่งผลมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อลดเวลาในการเตรียมอาหาร และสะดวกในการบริโภค อาหารแช่เยือกแข็งเป็นวิธีการถนอมอาหารโดยการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส น้ำในอาหารเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง จุลินทรีย์ไม่สามารถใช้น้ำในการดำรงชีวิต ส่งผลให้ช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ ทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารให้ยาวนานขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้สามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของอาหารในด้านเนื้อสัมผัส รสชาติ และคุณค่าทางอาหารไว้ได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ

 

(ที่มา : http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1442478193)

 

       ผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งมีหลากหลายชนิด ทั้งอาหารประเภทผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเพื่อเป็นอาหารพร้อมรับประทาน เช่น ติ่มซำ ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป โดยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศรองจากข้าว ได้แก่

              1. กุ้งแช่เยือกแข็ง ทำได้หลายแบบ เช่น แช่แข็งทั้งตัว เด็ดหัว เด็ดหัวแล้วผ่าหลัง กุ้งเนื้อ กุ้งต้ม กุ้งห่อแป้งปอเปี๊ยะ กุ้งที่นิยมนำมาแช่เยือกแข็ง ได้แก่ กุ้งโอคัก กุ้งแช่บ๊วย กุ้งลาย    กุ้งกุลาดำ
              2. ปลาหมึกแช่เยือกแข็ง เช่น ปลาหมึกกล้วยแช่เยือกแข็ง และปลาหมึกกระดองแช่เยือกแข็ง
              3. ปลาแช่เยือกแข็ง เช่น ปลาสดทั้งตัวแช่เยือกแข็ง เนื้อปลาแล่ หรือเนื้อปลาบดแช่เยือกแข็ง เรียกว่า ซูริมิ (Surimi) ปลาที่นิยมนำมาแช่เยือกแข็ง ได้แก่ ปลากระพง ปลาทูน่า ปลาโอ 
              4. ปูแช่เยือกแข็ง เช่น ปูทะเลแช่เยือกแข็ง
              5. หอยแช่เยือกแข็ง มีหลายชนิด เช่น หอยนางรม หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยเชลล์ เป็นต้น
 
                                         
 
                              (ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/                                                (ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/
                             word/1901/frozen-seafood-อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง)                                                    wiki/word/2989/การแช่เยือกแข็ง-freezing)
 
       ผู้บริโภคสามารถการเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งชนิดต่างๆ ให้มีคุณภาพและปลอดภัย ควรคำนึงถึงหลักการที่สำคัญ ดังนี้
              1. ควรเลือกซื้ออาหารแช่เยือกแข็งที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในสภาพดี ไม่รอยรั่ว หรือฉีกขาด ไม่มีรอยเปื้อน ซึ่งบรรจุภัณฑ์ควรทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ ปกป้องอาหารจากแสง และอาหารแช่เยือกแข็งประเภทพร้อมรับประทานควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถอุ่นร้อนในไมโครเวฟได้
              2. ดูวันหมดอายุบนฉลากอย่างรอบคอบ และควรเลือกซื้ออาหารแช่เยือกแข็งที่ยังไม่หมดอายุ
              3. สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงคือ ความปลอดภัยในด้านจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อกลับถึงบ้านควรรีบนำอาหารแช่เยือกแข็งเข้าช่องแช่แข็งของตู้เย็นทันที เพื่อช่วยรักษาสภาพอาหาร ไม่ควรปล่อยให้ละลาย เพราะน้ำในอาหารจะไหลออกมา ทำให้อาหารเสียรสชาติ และมีคุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง
              4. การละลายอาหารแช่เยือกแข็ง ควรแบ่งอาหารออกมาละลายเท่าที่ต้องการในแต่ละครั้ง เพื่อรักษาคุณภาพของอาหารในส่วนที่เหลือ
              5. เมื่อนำอาหารออกมาอุ่น ควรปฏิบัติตามวิธีการอุ่นอาหารบนฉลากที่ระบุไว้
              6. ในการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็ง ควรดูปริมาณสารอาหารต่างๆ บนฉลากโภชนาการ และควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของผู้บริโภค
 
                                         
 
                                 (ที่มา : https://www.technologychaoban.com/                                                  (ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/                 
                                           bullet-news-today/article_31371)                                                              wiki/word/2989/การแช่เยือกแข็ง-freezing)
 
       ดังนั้น การเลือกซื้ออาหารแช่เยือกแข็งอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ และมีความปลอดภัยต่อร่างกาย รวมทั้งช่วยประหยัดเวลาในการปรุงอาหารในสภาวะเร่งรีบของผู้คนในสังคมเมืองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
ชาลีดา  บรมพิชัยชาติกุล. การแช่เยือกแข็ง...อีกวิธีถนอมอาหารโภชนาการอยู่ครบ. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2560]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438593073
เทคโนโลยีชาวบ้าน. ข้อควรรู้ในการบริโภคอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2560].  
       เข้าถึงจาก : https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_31371
พิมพ์ชนก  พริกบุญจันทร์. การแปรรูปสัตว์น้ำโดยการแช่เยือกแข็ง. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2560].  
       เข้าถึงจาก : http://elearning.psru.ac.th/courses/152/บทที่%209/บทที่%209%20การแปรรูปสัตว์น้ำโดยการแช่เยือกแข็ง.pdf
สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. อาหารแช่เยือกแข็ง. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2560]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.foodsafety.moph.go.th/th/news-national-detail.php?id=378&pcid=270&pcpage=55