ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

       มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากชื่อ “มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่” หรือมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ เช่น หนามขี้แฮด (เชียงใหม่) หนามแดง (กรุงเทพฯ) มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง) และมะนาวโห่ (ภาคใต้) มีชื่อสามัญ Bengal-Currants, Carandas-plum, Karanda ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa carandas L. ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)

 

ที่มา: http://www.lookmhee.com/wp-content/uploads/2017/04/6-27.jpg

 

       มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกชนิดหนึ่งที่ในช่วง 2-3 ปีนี้กำลังเป็นที่นิยม จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว มีลักษณะเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ทรงพุ่มกลม แตกกิ่งจำนวนมากทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาว 2-5 เซนติเมตร ปลายหนามมีสีแดง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ ปลายใบมีลักษณะมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนใบกลม ผิวใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน เป็นดอกช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนที่โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวสีชมพูแกมแดง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และออกดอกทั้งปี ส่วนผลจะเป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลเป็นรูปทรงกลมรี ทรงมนรี หรือรูปไข่ ผลอ่อนจะมีสีขาวอมชมพู ส่วนผลดิบจะมีน้ำยางมาก ผลจะค่อยๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำ

 

                                                                  ลักษณะผลสุก                                                                                   ลักษณะผลดิบ       

                                                                                                

                              ที่มา : https://www.honestdocs.co/carissa-carandas-medicinal-benefits             ที่มา : http://www.tnews.co.th/contents/341882

 

       มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีคุณสมบัติที่สำคัญคือการป้องกันมะเร็ง เพราะภายในผลไม้ชนิดนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยบำรุงโลหิต ชะลอการแก่ก่อนวัย ป้องกันโรคหัวใจ ขยายหลอดเลือด รักษาปอด รวมไปถึงอาการถุงลมโป่งพองก็ช่วยบรรเทาให้ดีขึ้นได้ มะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่สามารถนำทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ดังนี้          

ประโยชน์ของผล มะม่วงหาวมะนาวโห่

 – ผลสุกสามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้                     

 – ช่วยบรรเทาอาการมือเท้าชา

 – สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด                   

 – ช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผล

 – ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคตับ                      

 – ช่วยขับปัสสาวะ

 – ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกระชุ่มกระชวย       

 – มีส่วนช่วยลดอาการภูมิแพ้

 – ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์และไทรอยด์                 

 – ช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

 – ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคถุงลมโป่งพอง 

 – ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อ

 – ผลสุกมีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน        

 – ช่วยลดอาการไอ     

 – มีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด

 – มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็งและชะลอความแก่

 

ประโยชน์ของราก มะม่วงหาวมะนาวโห่

 – ช่วยบรรเทาอาการไข้ ช่วยถอนพิษไข้                          

 – ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร

 – ช่วยดับพิษร้อน                                     

 – ช่วยรักษาอาการคันตามผิวหนัง

 – ช่วยขับพยาธิได้หลายชนิด

 – ช่วยรักษาแผลเบาหวาน

 

ประโยชน์ของลำต้น มะม่วงหาวมะนาวโห่

 – ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระปรีกระเปร่า

 – ช่วยบำรุงกำลังและร่างกาย ทำให้มีกำลังวังชาดี

 – ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล      

 – สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่นขึ้น

 

ประโยชน์ของยาง มะม่วงหาวมะนาวโห่

 – สามารถใช้เป็นยาช่วยรักษาโรคเท้าช้าง

 – ช่วยสมานแผลและรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

 – ช่วยรักษากลากเกลื้อน

 – สามารถรักษาหูดได้

 – ช่วยรักษาตาปลา

       มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณทางยาสูง สามารถนำมาบำบัดรักษาและบำรุงสุขภาพได้หลายอย่าง ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ การหันมาใช้สมุนไพรจากธรรมชาติบำบัดและบำรุงร่างกายก็นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

 

 
 
 
เอกสารอ้างอิง
บ้านทิพย์สวนทอง. ตามไปดู การปลูกมะม่วงหาว มะนาวโห่ ง่ายๆ คุณเองก็ทำได้. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 26 
       ธันวาคม 2560] เข้าถึงจาก http://www.baantip.com /2016/12/02/ปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่/
มะม่วงหาว มะนาวโห่. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2560] เข้าถึงจาก http://www.natres.
       psu.ac.th/FNR/vfsouthern/index.php/2013-10-26-10-11-55/9-uncategorised/149-2014-01-25-07-05-58
มะม่วงหาวมะนาวโห่ พืชสมุนไพรไทย บำบัดโรคได้หลายชนิด. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 26 
       ธันวาคม 2560] เข้าถึงจาก https://www.honestdocs.co/carissa-carandas-medicinal-benefits 
อุมาพร พ่วงผลฉาย. รีบหามาทานด่วน!!! "มะม่วงหาว มะนาวโห่" พืชสมุนไพรมหัศจรรย์ บำบัดโรคได้หลาย
       ชนิด มีคุณประโยชน์น่าเหลือเชื่อ. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2560] เข้าถึงจาก http://www.tnews.co.th/contents/341882