ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       น้ำมันมะพร้าว (Coconut oil) คือ น้ำมันที่ได้จากการนำเนื้อมะพร้าวมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ เช่น บีบ อัดให้ความร้อน เพื่อให้ได้น้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาแยกตะกอน ซึ่งในอดีตคนไทยนิยมใช้น้ำมันมะพร้าวในการทอด ประกอบอาหาร รวมทั้งใช้เป็นยาพื้นบ้านสำหรับรักษาอาการฟกช้ำดำเขียว ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และโรคกระดูก ส่วนปัจจุบันน้ำมันมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมักถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทางอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก แชมพู เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมพลาสติก ฟอกหนัง เป็นต้น 

(ที่มา : http://www.kasetupdate.com/2014/11/Virgin-Coconut-oil-Cold-pressed.html)
 
โดยน้ำมันมะพร้าวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
       1. น้ำมันมะพร้าว RBD (RBD coconut oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่สกัดได้จากเนื้อมะพร้าวห้าว โดยการบีบ หรือใช้ตัวทำละลายผ่านความร้อนสูงและกระบวนการทางเคมี RBD คือ การทำให้บริสุทธิ์ (Refining) การฟอกสี (Bleaching) และการกำจัดกลิ่น (Deodorization) ซึ่งน้ำมันมะพร้าวที่สกัดได้และเหมาะสำหรับนำมาบริโภคนั้นจะมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีกลิ่นและรส ปราศจากวิตามินอี  มีปริมาณกรดไขมันอิสระ (Free fatty acid) ไม่เกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้จำหน่าย เนื่องจากโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่เลิกดำเนินการไปแล้ว
       2. น้ำมันมะพร้าวบีบเย็น (Cold-pressed coconut oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตจากเนื้อมะพร้าวสด โดยกระบวนการบีบไม่ผ่านความร้อนสูง เป็นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่สุด สีใสเหมือนน้ำ มีวิตามินอี และไม่ผ่านกระบวนการเติมออกซิเจน มีค่าเปอร์ออกไซด์และกรดไขมันอิสระต่ำ มีกลิ่นมะพร้าวอ่อนๆ ถึงแรง (ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต) มีความชื้นไม่เกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ โดยอาจเรียกน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้อีกอย่างว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin coconut oil) เป็นน้ำมันที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือในครัวเรือน ซึ่งน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุด
 
(ที่มา : http://thaihealthlife.com/น้ำมันมะพร้าว/)
 
       ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจและนิยมรับประทานน้ำมันมะพร้าวกันมากขึ้น เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบสำคัญที่ให้คุณค่าต่อสุขภาพ คือ
       1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณกรดไขมันทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง ได้แก่ กรดคาโปอิก (Caproic acid) กรดคาปริลิก (Caprylic acid) กรดคาปริก (Capric acid) กรดลอริก (Lauric acid) และกรดไมริสติก (Myristic acid) ซึ่งเมื่อรับประทานและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเผาผลาญได้ดี จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมันได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว นอกจากนี้ น้ำมันมะพร้าวยังประกอบด้วยกรดไขมัน   ไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์
       2. กรดลอริก (Lauric acid) น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันจากพืชชนิดเดียวในโลกที่มีปริมาณกรดลอริกสูง คือ ประมาณ 48-53 เปอร์เซ็นต์ กรดลอริกนี้เองที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษในการเสริมสุขภาพและความงาม อีกทั้ง น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดคาปริกอยู่ประมาณ 6-7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของกรดลอริก
       3. วิตามินอี (Vitamin E) น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านกระบวนการ RBD ยังคงมีวิตามินอีที่มีประสิทธิภาพอยู่ในปริมาณสูง โดยทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant of free radicals) 
       น้ำมันมะพร้าวจึงถูกจัดว่าเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันชนิดอื่น เพราะมีคุณประโยชน์ต่างๆมากมาย ได้แก่
              - ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ให้พลังงานน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่น และช่วยเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม ทำให้น้ำมันที่บริโภคเข้าไปถูกเผาผลาญเป็นพลังงานทั้งหมด ไม่สะสมเป็นไขมันในร่างกาย จึงไม่ทำให้อ้วน
              - ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง กรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลางในน้ำมันมะพร้าวช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง และกระบวนการรับรู้ของมนุษย์
              - ช่วยให้กระดูกแข็งแรง สารอาหารในน้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูก ได้แก่ แคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งทำให้ช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก ไม่ให้เปราะ แตกหักง่าย
              - บำรุงกำลัง น้ำมันมะพร้าวย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญได้ทันที อีกทั้งกินแล้วอิ่มนาน ทำให้ร่างกายมีกำลังเพิ่มขึ้นโดยไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียง
              - บำรุงครรภ์ หากคุณแม่รับประทานน้ำมันมะพร้าวในช่วงตั้งครรภ์ สามารถช่วยให้ทารกในครรภ์มีภูมิคุ้มกันที่ดี
 
                                             กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ไม่ทำให้อ้วน                                                                        บำรุงครรภ์
 
                                                         
 
                                   (ที่มา : http://www.tropicanaoil.com/blog/detail/90)                                  (ที่มา : https://www.sanook.com/women/77793/)                        
 
              - ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริกสูงมาก ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับกรดไขมันที่มีในนมแม่ เมื่อบริโภคเข้าไปกรดลอริกจะเปลี่ยนเป็นมอโนลอริน (Monolaurin) ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค
              - ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าวทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกเติมออกซิเจน และเป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม อาหารและเครื่องดื่ม รังสี ความเครียด
              - ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลุ่มเสื่อม เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคกลุ่มเสื่อมต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต เป็นต้น
              - ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งผิวหนัง
              - บำรุงสุขภาพในช่องปาก กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวช่วยขจัดคราบพลัคและเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยให้ปากสะอาด
       นอกจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังมีประโยชน์ในด้านความงามอีกด้วย เช่น ใช้ทาผิวเพื่อบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสไม่แห้งกร้าน ใช้บำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ใช้ทากันแดด ใช้เป็นน้ำมันนวดตัว ใช้เป็นคลีนนิ่งออยล์สำหรับเช็ดคราบเครื่องสำอาง เป็นต้น 
 
                                                               ทาบำรุงผิว                                                                                        เช็ดคราบเครื่องสำอาง
 
                                                          
 
                              (ที่มา : http://www.lady108.com/39664/14-ประโยชน์ของ                           (ที่มา : https://www.jeedmak.com/น้ำมันมะพร้าว-สารพัดประ/)  
                                   น้ำมันมะพร้าว-ของดีราคาถูก-ที่หลายคนอาจมองข้าม/)
 
       ผู้บริโภคสามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพได้หลายวิธี ทั้งรับประทานโดยตรง ซึ่งปกติผู้ใหญ่อาจรับประทานในปริมาณ 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน หรือ 1 ช้อนโต๊ะต่อมื้ออาหาร ทั้งนี้ ไม่ได้กำหนดเป็นปริมาณที่ตายตัว อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของผู้บริโภค และการใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร เช่น ใช้แทนน้ำมันพืชในการทอด หรือผัด ใช้ผสมลงในอาหารและเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เป็นต้น 
 
เอกสารอ้างอิง
ณรงค์  โฉมเฉลา. วิธีใช้น้ำมันมะพร้าว. มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว, กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, 2554, หน้า 268-275.
ธนิกา  ปฐมวิชัยวัฒน์. น้ำมันมะพร้าวกับการลดน้ำหนัก.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2561].  
       เข้าถึงจาก : https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/17/
ธนิฏฐา  ปีกอง. การรับประทานน้ำมันมะพร้าว. โอสธทิพย์จากธรรมชาติ น้ำมันมะพร้าว, กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย, 2554, หน้า 92-98.
สุทธิชัย  ปทุมล่องทอง. คุณประโยชน์จากน้ำมันมะพร้าว และสาระน่ารู้จากน้ำมันมะพร้าว. น้ำมันมะพร้าว น้ำมันบริสุทธิ์สุดยอดยามหัศจรรย์,
       กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2554, หน้า 45-77.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำมันมะพร้าว มผช.670/2547
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2561]  เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps670_47.pdf