ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ไขมันทรานส์ (Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans fatty acids) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) ที่มีการจัดเรียงโครงสร้างบริเวณพันธะคู่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในธรรมชาติจะมีโครงสร้างแบบ cis-form ซึ่งมีการจัดเรียงตัวของอะตอมไฮโดรเจนที่บริเวณพันธะคู่อยู่ด้านเดียวกัน แต่เมื่อถูกเปลี่ยนเป็น trans-form การเรียงตัวของอะตอมไฮโดรเจนบริเวณพันธะคู่จะอยู่ด้านตรงข้ามกัน

(ที่มา : http://www.science.cmu.ac.th/prsci/upload/science_news/19-03-2014-184947157.pdf)

       การเกิดไขมันทรานส์มีสาเหตุมาจาก 2 แหล่ง คือ

       1. ไขมันทรานส์จากธรรมชาติ ซึ่งพบได้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง หรือสัตว์สี่กระเพาะ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์จำพวกนี้อาจมีไขมันทรานส์จากธรรมชาติ เช่น นม เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน แต่จะพบในปริมาณที่น้อยมาก
       2. ไขมันทรานส์จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม ด้วยการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไปในน้ำมันพืช (Partially hydrogenated oils; PHOs) ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้น หรือเป็นกึ่งของเหลว พบมากในอุตสาหกรรมเนยเทียม (Margarine) และเนยขาว (Shortening) ซึ่งผู้ประกอบการอาหารมักนิยมใช้ไขมันทรานส์ในกระบวนการผลิต เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จะมีคุณสมบัติเด่นคือ ไม่เป็นไข ทนความร้อนได้สูง เก็บไว้ได้นาน ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ให้รสชาติเหมือนไขมันจากสัตว์ และมีราคาถูก ทำให้สามารถลดต้นการผลิตได้ดี
       อาหารที่พบว่ามีไขมันทรานส์แฝงอยู่เป็นจำนวนมาก คือ ขนมอบหรือเบเกอรี่ที่มีมาการีนและเนยขาวเป็นส่วนประกอบ เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง ขนมขบเคี้ยว รวมทั้งยังพบในครีมเทียม อาหารทอด และอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ จากการสำรวจปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 162 ตัวอย่าง ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า อาหารที่มีการปนเปื้อนไขมันทรานส์เป็นอันดับต้นๆ ได้แก่
              (1) มาการีน พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.08-15.32 กรัมต่อ 100 กรัม
              (2) โดนัททอด พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.02-5.14 กรัมต่อ 100 กรัม
              (3) พาย พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.03-4.39 กรัมต่อ 100กรัม
              (4) พัฟและเพสตรี พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.01-2.46 กรัมต่อ 100 กรัม
              (5) เวเฟอร์ช็อกโกแลต พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.06-6.24 กรัมต่อ 100 กรัม
 
 
(ที่มา : http://www.merrybites.com/tag/ไขมันทรานส์/)
 
       จากการวิจัยพบว่า การบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์มากเกินไปมีผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ รองจากโรคมะเร็ง เนื่องจากการบริโภคไขมันทรานส์จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low-density lipoprotein cholesterol; LDL-C) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (High-density lipoprotein cholesterol; HDL-C) ส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน ส่งผลให้อวัยวะที่หลอดเลือดไปเลี้ยงขาดออกซิเจน อีกทั้งยังเพิ่มน้ำหนักและเกิดไขมันส่วนเกิน และยังพบอีกว่า การบริโภคไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรมมีผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนการบริโภคไขมันทรานส์จากธรรมชาติไม่มีผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคหัวใจและหลอดเลือด
 
                                       
 
                              (ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/blog/content/62285/)                               (ที่มา : http://thaitribune.org/contents/detail/
                                                                                                                                                      307?content_id=21742&rand=1497461813)
 
       ทั้งนี้ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administration; USFDA) ได้กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารระบุปริมาณกรดไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ เพื่อเป็นทางเลือกในการเลือกซื้อให้กับผู้บริโภค และในปี พ.ศ. 2558 ได้ออกกฎหมายการผลิตอาหารในประเทศต้องมีไขมันทรานส์เป็น 0 เปอร์เซ็นต์ หรือห้ามไม่ให้มีไขมันทรานส์ โดยให้ระยะเวลาผู้ผลิตปรับกระบวนการผลิต 3 ปี
 
(ที่มา : https://www.thongjoon.com/2011/06/trans-fat.html)
 
สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดมาตรการควบคุมและกำกับดูแลไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยกำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย รวมถึงการผลิตเพื่อการส่งออก เพราะฉะนั้นตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะไม่มีการใช้ไขมันทรานส์ในการผลิตอาหาร เพื่อช่วยคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ได้รณรงค์ให้ทั่วโลกยกเลิกการใช้ไขมันทรานส์ เพื่อกำจัดไขมันชนิดนี้ให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งหวังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประเทศที่มีการจำกัดหรือห้ามการใช้ไขมันทรานส์แล้ว ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา และอังกฤษ 
       ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวในการปรับปรุงกระบวนการผลิต หรือปรับปรุงสูตรอาหารต่างๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ปราศจากไขมันทรานส์  โดยผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในประเทศไทยบางรายได้ดำเนินการและออกมาชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ของตนปราศจากไขมันทรานส์ เช่น  แมคโดนัลด์ สาหร่ายทอดเถ้าแก่น้อย มาร์การีน เบสท์ฟู้ดส์ เคเอฟซี เทสโก้โลตัส มิสเตอร์โดนัท อานตี้แอนส์ เป็นต้น อีกทั้ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นมข้าวข้นหวานเพื่อสุขภาพ ปราศจากไขมันทรานส์ และมีไขมันต่ำ สำหรับใช้เป็นส่วนผสมในขนมหวานต่างๆ และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า การผสมน้ำมัน (Oil-blending) เพื่อใช้ทดแทนเทคนิคการเติมไฮโดรเจนบางส่วนในน้ำมัน ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ประกอบการนิยมใช้กันมาก เพราะต้นทุนไม่สูง 
ผลิตภัณฑ์นมข้าวข้นหวานเพื่อสุขภาพ
 
 
(ที่มา : https://mgronline.com/science/detail/9610000071660)
 
ส่วนผู้บริโภคควรรับประทานไขมันทรานส์ในปริมาณที่เหมาะสม โดยองค์การอนามัยโลก (WTO) แนะนำให้บริโภคไขมันทรานส์ไม่เกิน 2.2 กรัมต่อวัน หรือ 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เพื่อให้มีสุขภาพอนามันที่ดี ซึ่งหลักปฏิบัติในการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่มีไขมันทรานส์ คือ
       1. อ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง โดยหลีกเลี่ยงฉลากโภชนาการที่ระบุคำว่า Partially hydrogenated oil หรือ Hydrogenated oil 
       2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของเนยเทียม และเนยขาว
       3. ลดการกินเนื้อสัตว์ติดมัน
       4. เลือกใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
       5. รับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น
 
เอกสารอ้างอิง
ณัฏฐินี  อนันตโชค. ไขมันทรานส์.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : 
       http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0436.pdf
นันทยา  จงใจเทศ  และคณะ. รายงานการศึกษาวิจัยปี 2550 เรื่อง ปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารอบและทอด.  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/ปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารอบและทอด.pdf
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย.
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/166/5.PDF
มหาวิทยาลัยมหิดล. นักวิชาการไทยชี้ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์.  [ออนไลน์]  
       [อ้างถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : https://mahidol.ac.th/documents/doc/trans.pdf
มารุจ  ลิมปะวัฒนะ และ วรรณวิมล  คล้ายประดิษฐ์ . บทความวิชาการ ไขมันทรานส์ : ข้อมูลบนฉลากโภชนาการที่ควรรู้.  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : file:///C:/Users/SI4-22/Downloads/38380-Article%20Text-87356-1-10-20150818.pdf
ศุภศิษฏ์  อรุณรุ่งสวัสดิ์. บทที่ 3 กรดไขมันและลิพิด. ชีวเคมีพื้นฐาน, กรุงเทพฯ : ท้อป, 2552, หน้า 49-55.
สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ.  แบนไขมันทรานส์ในไทย เริ่ม 9 ม.ค. 62 หวังลดเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : https://www.hfocus.org/content/2018/07/16094
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. อย. ลั่น ม.ค. 62 ประเทศไทยไม่มี ‘ไขมันทรานส์’ ในอาหารอีก.  [ออนไลน์]  
       [อ้างถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/807832
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. อัพเดต 9 อาหารปราศจากไขมันทรานส์.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2561].
       เข้าถึงจาก : https://www.thairath.co.th/content/1337645
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. อย. คุมเข้มไขมันทรานส์ ดีเดย์ ม.ค. 62 นี้ หวังลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด.  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : https://www.prachachat.net/marketing/news-192044
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์. วิทย์ มธ. เปิดตัวนมข้นหวานไร้ไขมันทรานส์.  [ออนไลน์]  
       [อ้างถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2561].  เข้าถึงจาก : https://mgronline.com/science/detail/9610000071660