วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
ถ่านดูดกลิ่น คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำถ่านมาบดให้มีความละเอียดตามต้องการ อาจเติมสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการดูดกลิ่น เช่น ชา สะเดา บรรจุในภาชนะบรรจุ หรืออัดเป็นรูปทรงต่างๆ อาจแต่งสี หรือได้จากการนำผลไม้ หรือส่วนต่างๆ ของพืช มาเผาในที่อับอากาศจนกลายเป็นถ่านโดยยังคงรูปทรงผลไม้ หรือส่วนต่างๆ ของพืชไว้เช่นเดิม ถ่านดูดกลิ่นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในปัจจุบัน คือ ถ่านผลไม้ มีคุณสมบัติสามารถดูดกลิ่นได้ดี รูปทรงสวยงาม และใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
(ที่มา : http://siweb.dss.go.th/bct/fulltext/report/otop12.pdf)
การผลิตถ่านผลไม้เกิดจากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีต โดยนำผลไม้ชนิดต่างๆ มาเผาจนเป็นถ่านที่ยังคงรูปทรงผลไม้ไว้เหมือนเดิม ผลไม้ที่นิยมนำมาใช้มีทั้งผลไม้เปลือกแข็งและเศษวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตร เช่น ทุเรียน ส้มโอ สับปะรด มังคุด กล้วย มะม่วง น้อยหน่า มะพร้าว ลูกตาล ขนุน ลูกท้อ ฝักบัว ซังข้าวโพด รวมไปถึงกระบอกไม้ไผ่ วัตถุดิบที่นำมาเผาแต่ละชนิดมีขนาดรูปทรงสมบูรณ์ ผลไม้บางชนิดต้องมีจุก มีขั้วติด ได้แก่ มะพร้าว ลูกตาล มังคุด ขนุน และทุเรียน ส่วนกล้วยอาจแยกผลหรือเผาเป็นหวีก็ได้ หากเป็นกระบอกไม้ไผ่ต้องตัดให้มีความยาวและลักษณะเท่าๆ กับกระบอกข้าวหลาม