
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ในปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์และให้ความรู้ประชาชนให้หมั่นดูแลสุขภาพและแนะนำวิธีการป้องกันการติดเชื้อของโรคดังกล่าวหลายวิธี โดยวิธีที่เราทุกคนสามารถทำได้ง่าย และมีประสิทธิภาพสูงคือ การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เนื่องจากเชื้อ COVID-19 หุ้มด้วยไขมันและโปรตีน การล้างมือด้วยสบู่นาน 20 วินาที จะดึงไขมันออก ทำให้เซลล์ไวรัสแตกตัว นับเป็นการทำลายเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากเราอยู่นอกบ้านอาจไม่สะดวกล้างมือด้วยน้ำและสบู่ “เจลล้างมือ” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการนำมาใช้ฆ่าเชื้อโรคสำหรับมือได้





(ที่มา :https://www.bangkoklifenews.com/17182515/ทำ-เจลล้างมือ-ใช้เอง-ไม่ยาก-จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ-)
ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เจลล้างมือที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามที่กำหนด เพื่อช่วยป้องกันเชื้อโรคที่อาจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อใช้เจลล้างมือทำความสะอาดมือควรใช้ให้ถูกวิธี โดยเทเจลล้างมือประมาณ 2-3 มิลลิลิตร ลงในฝ่ามือ ถูให้ทั่วทั้งสองมือเป็นเวลาประมาณ 20 วินาที ปล่อยให้แห้งในอากาศ การเก็บรักษาควรเก็บในภาชนะปิดสนิทในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดด เพราะจะทำให้แอลกอฮอล์ระเหย และความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ลดลง ควรหลีกเลี่ยงเปลวไฟ เนื่องจากเจลล้างมือมีส่วนผสมของแอลกอออล์ในปริมาณมาก สามารถทำให้ติดไฟได้ อีกทั้ง ไม่ควรใช้เจลล้างมือกับเด็กทารก และบริเวณที่ผิวบอบบาง เช่น รอบดวงตา บริเวณที่ผิวอักเสบ มีสิว มีบาดแผล ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคือง
เอกสารอ้างอิง