ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นรงควัตถุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปในพืชทั้งส่วนของดอก และผล จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มักใช้เป็นสารให้สีตามธรรมชาติ มีโครงสร้างประกอบด้วยแอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidins) หรืออะไกลโคน (Aglycone) น้ำตาล และกรด (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) ซึ่งแอนโทไซยานิดินที่พบมากมีอยู่ 6 ชนิด คือ เพลาโกนิดิน (Pelargonidin) ไซยานิดิน (Cyanidin) เดลฟินิดิน (Delphinidin) พีโอนิดิน (Peonidin) เพทุนิดิน (Petunidin) และมอลวิดิน (Malvidin) สีของแอนโทไซยานินจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) โดยมีสีแดงในสภาพที่เป็นกรด (pH<7) มีสีม่วงเมื่อเป็นกลาง (pH=7) และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินในสภาพที่เป็นด่าง (pH>7)

(ที่มา : file:///C:/Users/SI4-22/Downloads/1826-5966-1-PB.pdf)

       ปัจจุบันสารแอนโทไซยานินได้รับจากความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย ได้แก่ เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ลดอาการอักเสบ ลดคอเลสเตอรอล และต้านไวรัส ทำให้มีการนำสารชนิดนี้มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงามมากขึ้น โดยแหล่งของแอนโทไซยานินจากธรรมชาติพบได้มากในผัก และผลไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง และ สีม่วง เช่น กะหล่ำปลีม่วง มันเทศสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง ลูกหว้า ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดง ถั่วดำ หอมแดง ดอกอัญชัน เผือก หอมหัวใหญ่สีม่วง มะเขือม่วง พริกแดง องุ่นแดง-ม่วง แอปเปิ้ลแดง ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกด บลูเบอรี่ เชอรี่ แบล็กเบอรี่ ราสเบอรี่ สตรอเบอรี่ เป็นต้น

 

                                       

                                    (ที่มา : http://www.foodthai.in.th/2015/03/                                                       (ที่มา : https://www.reboothealth.co.uk/

                                      Nutritional-value-of-sweet-violets.html)                                                                   blog/berries-health-benefits)

       สารแอนโทไซยานินมีประโยชน์ในด้านต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้

       1. ใช้เป็นสีย้อมอาหาร (Food dye) เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์สีผสมอาหารแอนโทไซยานินจะอยู่ในรูปแบบผง และของเหลว จึงสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการของอาหาร และผสมกับส่วนของไข่ขาวเพื่อใช้เป็นสารช่วยให้ความคงตัวแทนการใช้แป้ง รวมทั้ง เพิ่มความคงตัวให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีค่า Water activity ต่ำ 
       2. ใช้เป็นส่วนผสมในแชมพู และครีมนวดผม ซึ่งสารแอนโทไซยานินจะช่วยกระตุ้นให้รากผมสร้างผมได้มากขึ้นถึง 3 เท่า
       3. ใช้เป็นส่วนผสมในสารกันแดด (Sunscreen) ช่วยให้ผิวหนังดูอ่อนกว่าวัย ชะลอความเสื่อมสภาพของผิวหนัง เนื่องจากสารแอนโทไซยานินช่วยยับยั้งความเสียหายของผิวหนังจากกระบวนการออกซิเดชันที่เกิดจากแสงอัลตราไวโอเลต และหากใช้ร่วมกับวิตามินอีจะทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้ง ยังใช้ทำสบู่ได้ด้วย
 
 
                                                              
 
                               (ที่มา : https://www.vanilla.in.th/topic.cgi?id=1146)                                               (ที่มา : http://tritrongherb.com/product/
                                                                                                                                                          แชมพูสมุนไพรดอกอัญชัน-butterfly/)
 
       4. ช่วยในการผสมเกสร โดยแมลงจะชอบสีสันของดอกไม้ต่างกัน เช่น ผึ้งชอบดอกสีน้ำเงิน หรือสีเหลือง และมีลายเส้นของดอกไม้ทโดเด่น ผีเสื้อชอบดอกสีแดง และสีชมพู นกชอบดอกสีแดง และสีส้ม ส่วนด้วงและค้างคาวชอบดอกสีไม่สดใส และไม่ฉูดฉาด
       5. ช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต เนื่องจากรังสีอัลตราไวโอเลตมีความยาวคลื่นสั้น จึงมีพลังงานสูง และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โดยไปขัดขวางการจำลองแบบของ DNA มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีน และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้
       6. ช่วยดูดซับอนุมูลอิสระ เนื่องจากแอนโทไซยานินทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) ภายในสิ่งมีชีวิต ทำให้สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยพบว่าแอนโทไซยานินมีประสิทธิภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซี และวิตามินอี ถึง 2 เท่า
 
 
 
(ที่มา : https://i.pinimg.com/736x/70/76/ca/7076cace826d26e9db42401244ac591d--website.jpg)
 
       ดังนั้น การรับประทานผักและผลไม้ที่เป็นแหล่งของสารแอนโทไซยานิน ส่งผลให้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริโภค สามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดอัตราเลี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ และยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีสุขภาพดีด้วย ซึ่งปริมาณของแอนโทไซยานินที่มนุษย์สามารถบริโภคได้เฉลี่ยสูงสุด คือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน 
 
เอกสารอ้างอิง
นิศารัตน์  ศิริวัฒนเมธานนท์. อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3) : สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน.
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 16 มกราคม 2561].  เข้าถึงจาก : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/152/
       อาหารหลากสีมีประโยชน์หลากหลาย(ตอนที่3):สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน/
พิมพ์เพ็ญ  พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. Anthocyanin/แอนโทไซยานิน. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 16 มกราคม 2561]. 
       เข้าถึงจาก : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1103/anthocyanin-แอนโทไซยานิน 
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ. ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้ เรื่อง แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) (IR 21)
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 16 มกราคม 2561].  เข้าถึงจาก : http://siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR21.pdf
อรุษา  เชาวนลิขิต. การสกัดและวิธีการวิเคราะห์แอนโทไซยานิน (Extraction and analysis of anthocyanin).  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 16 มกราคม 2561].  เข้าถึงจาก : file:///C:/Users/SI4-22/Downloads/1826-5966-1-PB.pdf