ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

       ปัจจุบันคนส่วนใหญ่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก และมักจะนิยมรับประทานข้าวหุงสุกจากข้าวขาวทั้งเมล็ดมากกว่าการรับประทานข้าวกล้อง เนื่องจากข้าวกล้องมีเนื้อสัมผัสที่แข็งและมีรสชาติที่ไม่อร่อยเหมือนข้าวขาว แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยการหันมาบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขาวได้ก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

                                   ที่มา : http://www.เกร็ดความรู้.net/ข้าวกล้องงอก/

       ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice หรือ “GABA-rice”) ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอกโดยการนำข้าวกล้องมาแช่น้ำไว้ เมื่อน้ำได้แทรกซึมเข้าไปในเมล็ดข้าวจะเกิดการกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงานทำให้เมล็ดข้าวเริ่มงอก เมล็ดของข้าวกล้องงอกจะประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดหรือแกลบ (Hull หรือ Husk) ซึ่งจะหุ้มเมล็ดไว้ ในเมล็ดจะประกอบด้วย จมูกข้าวหรือคัพภะ (Germ หรือ Embryo) รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเมล็ดข้าวขาวหรือเมล็ดข้าวสาร (Endosperm) ซึ่งโดยปกติแล้วในตัวข้าวกล้องเองจะประกอบด้วยสารอาหารจำนวนมาก เช่น เส้นใยอาหาร โฟเลต วิตามินบี 2  วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินอี ธาตุเหล็ก และ GABA (gamma aminobutyric acid)  นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุ เช่น แมกนีเซียม แมงกานีส ฟอสฟอรัส ทองแดง สังกะสี ซีลีเนียม คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และโปรตีน แต่เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอกจะทำให้ข้าวกล้องงอกมีสารอาหารจำพวกโปรตีนที่สามารถย่อยสลายเป็นกรดอะมิโน และมีการสะสมสารเคมีที่สำคัญ เช่น แกมมาออริซานอล (Gamma-Oryzanol) และโดยเฉพาะสารแกมมา อะมิโนบิวทิริก แอซิต (Gamma Amino butyric acid; GABA) ข้าวกล้องงอกจะมีปริมาณของสาร GABA ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้รับประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารที่มีคุณค่าสูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้นุ่มกว่าข้าวกล้องธรรมดาและง่ายแก่การหุงรับประทาน

    ที่มา: http://www.vcharkarn.com/varticle/39050      

       ซึ่งประโยชน์ของข้าวกล้องงอกที่ได้รับนี้ มีนักวิจัยค้นพบว่าข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีนี้ เป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยม มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ช่วยให้ร่างกายค่อยๆ ดูดซึมน้ำตาลทีละน้อย ทำให้อิ่มนานไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม โปรตีนช่วยซ่อมแซมผิวที่สึกหรอ ช่วยบำรุงผิวไม่ให้แก่เร็ว วิตามินบีที่พบมากในข้าวกล้องงอกยังช่วยให้ระบบประสาททำงานมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเครียด ลดความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ป้องกันโรคเหน็บชา ปากนกกระจอก แคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เส้นใยอาหารช่วยในการขับถ่ายเป็นปกติ กรดโฟเลตและธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจางและที่สำคัญข้าวกล้องมีซีลีเนียม และสังกะสีที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ของผิว ป้องกันโรคมะเร็ง และยังมีสารกาบาสามารถป้องกันการทำลายสมองช่วยลดความดันโลหิต ลดอาการอัลไซเมอร์ ช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย เนื่องจากสารกาบา (GABA) กระตุ้นต่อมไร้ท่อให้ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต 

ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/422728

       ดังนั้นข้าวกล้องงอกจึงมีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัย แต่ยกเว้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์   ซึ่งไม่ควรรับประทาน เพราะเมล็ดข้าวกล้องหรือยอดผักต่างๆ ที่กำลังจะงอก จะมีสารยูริคจำนวนมาก จึงไม่เหมาะสมกับคนที่เป็นโรคเกาต์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการมีสารยูริคจำนวนมากสะสมอยู่ตามข้อจนเกิดการอักเสบ นอกจากนี้แล้วข้าวกล้องงอกยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ ได้ เช่น อาหารว่าง เครื่องดื่ม และซุป เป็นต้น ข้าวกล้องงอกจึงเหมาะกับผู้ที่รักสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง

 

 

เอกสารอ้างอิง

ข้าวกล้องงอก คืนพลังให้มีชีวิตชีวา.[ออนไลน์][อ้างถึงวันที่ 24 มกราคม 2561] เข้าถึงจาก

       https://prayod.com /ข้าวกล้องงอก/

ข้าวกล้องงอกสารพัดประโยชน์.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 24 มกราคม 2561] เข้าถึงจาก

       https://live.phuketindex.com/th/germinated-brown-rice-1816.html

บุษยา รัตนสุภา. ข้าวกล้องงอก. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 23มกราคม2561]เข้าถึงจาก

       http://www.vcharkarn.com/varticle/39050