ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ภูมิปัญญาการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามฤดูกาลพบได้ตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกอาหารที่มีสรรพคุณเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศนั้นๆ เพื่อช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย คลายความร้อน และทำให้รู้สึกสบายเนื้อสบายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนร่างกายมักสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ และอ่อนเพลียได้ง่าย วิธีคลายร้อนที่สำคัญวิธีหนึ่งคือ การเลือกรับประทานผลไม้ฤทธิ์เย็น มีลักษณะเป็นผลไม้ที่ย่อยง่าย ให้พลังงานต่ำ ส่วนใหญ่มีรสชาติไม่หวานจัด อมเปรี้ยว เนื้อฉ่ำน้ำ กินแล้วรู้สึกชุ่มคอดับกระหาย

(ที่มา : http://club.sanook.com/17575/ทำความรู้จัก-อาหารฤทธิ/)
 
       โดยผลไม้ฤทธิ์เย็นแต่ละชนิดมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
       1. แตงโม เป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานกันมากในหน้าร้อน เนื่องจากมีน้ำเยอะ รสชาติไม่หวานจนเกินไป ที่สำคัญคือ มีฤทธิ์เย็นสามารถช่วยดับความร้อนในร่างกายได้ดี รวมทั้งยังช่วยลดไข้ ป้องกันหวัด แก้คอแห้ง และบรรเทาแผลในช่องปากได้อีกด้วย
       2. น้ำมะพร้าวอ่อน พบว่ามะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีทั้งฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็น โดยเนื้อมะพร้าวมีฤทธิ์ร้อน ส่วนน้ำมะพร้าวมีฤทธิ์เย็น ซึ่งการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนช่วยให้แก้กระหายน้ำได้ดี ช่วยล้างพิษ ขับของเสียออกจากร่างกาย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง 
       3. มังคุด เป็นผลไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นราชินีแห่งผลไม้ไทย เนื่องจากลักษณะภายนอกของผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินี มีฤทธิ์เย็น ช่วยลดอาการร้อนใน แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งกากใยจากเนื้อมังคุดยังช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ
 
                                   แตงโม                                                                       น้ำมะพร้าวอ่อน                                                               มังคุด
 
                 
 
              (ที่มา : https://undubzapp.com/                                        (ที่มา : https://undubzapp.com/                                    (ที่มา : https://www.svgroup.co.th/
        top-10-cool-fruits-in-summer-thailand/)                              top-10-cool-fruits-in-summer-thailand/)                                       มังคุดเนื้อแก้วยางไหล/)
 
       4. แตงไทย หรือแคนตาลูป เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน มีฤทธิ์เย็น ช่วยดับกระหาย ขับเหงื่อ ลดอุณหภูมิในร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ชะลอวัย ลดริ้วรอย และบรรเทาอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ ซึ่งผู้บริโภคสามารถรับประทานแตงไทยหรือแคนตาลูปแบบสดๆ หรืออาจนำมาใส่ในน้ำกระทิก็ได้เช่นเดียวกัน
       5. แก้วมังกร เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะ รสชาติหวานกำลังดี น้ำตาลน้อย เนื้อฉ่ำๆ รับประทานง่าย ช่วยดับกระหายคลายร้อนได้ดี ป้องกันการโรคหัวใจและหลอดเลือด มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัย บำรุงผิว รวมทั้งช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน
 
                                                                         แตงไทย                                                                                แก้วมังกร
 
                                                              
                                                         (ที่มา : https://www.baanlaesuan.com/                                     (ที่มา : https://health.mthai.com/
                                                            56806/diy/easy-tips/summer-fruit)                                          howto/health-care/9467.html)
 
       6. สาลี่ เป็นผลไม้กลิ่นหอมที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยแก้กระหาย คลายร้อน ลดความร้อนในร่างกาย ซึ่งตามตำรายาจีนเชื่อว่าสาลี่มีสรรพคุณสร้างความรู้สึกสดชื่น สามารถบำบัดความเครียดทางจิตใจและความเมื่อยล้าทางร่างกายได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการไอ ไอแห้ง ช่วยละลายเสมหะ เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ปอด
       7. สับปะรด เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะ มีฤทธิ์เย็น ช่วยแก้กระหาย คลายร้อน ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการบวมน้ำของร่างกาย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัดได้ดี
       8. ชมพู่ เป็นผลไม้เนื้อฉ่ำน้ำ มีฤทธิ์เย็น รสชาติหวานกรอบ กินแล้วช่วยให้สดชื่น อุดมไปด้วยมีวิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม และแมกนีเซียม อีกทั้งยังมีสารไลโคปีน (Lycopene) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย บำรุงผิวพรรณ และบำรุงหัวใจ
 
                                               สาลี่                                                                  สับปะรด                                                                 ชมพู่
                                        
                       (ที่มา : https://undubzapp.com/                              (ที่มา : https://medthai.com/สับปะรด/)                     (ที่มา : https://www.baanlaesuan.com/                                    top-10-cool-fruits-in-summer-thailand/)                                                                                                      56806/diy/easy-tips/summer-fruit)
 
       นอกจากนี้ ยังมีผลไม้ฤทธิ์เย็นอีกหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ ส้มโอ แอปเปิ้ล ลางสาด กีวี่ สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ มะม่วงดิบ มะละกอดิบ กล้วยน้ำว้าห่าม กล้วยหักมุก พุทรา ลูกท้อ มะยม ดังนั้น ในหน้าร้อนการเลือกรับประทานผลไม้ฤทธิ์เย็นร่วมกับการดื่มน้ำเปล่าวันละ 8-10 แก้ว สามารถช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกสดชื่น คลายร้อน และมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. อาหารคลายร้อน. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 17 เมษายน 2562].  
       เข้าถึงจาก : https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/April-2014/food-in-summer
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. มารู้จักผักและผลไม้คลายร้อนกันค่ะ. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 17 เมษายน 2562].  
       เข้าถึงจาก : http://www.komchadluek.net/news/edu-health/266080
coolinggreenlife. มาเลือกรับประทานผลไม้ในช่วงฤดูร้อนกันเถอะ. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 17 เมษายน 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://www.coolinggreenlife.com/health/habit/cooling-heating-fruits/ผลไม้-ฤทธิ์-ร้อน-เย็น.html
GedGoodLife. “10 ผลไม้ฤทธิ์เย็น” กินแล้วชื่นใจ ดีต่อร่างกายในหน้าร้อน. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 17 เมษายน 2562]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.gedgoodlife.com/health/9253-10-fruits-for-summer/