ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       กล้วยน้ำว้า (Musa ABB cv. Kluai 'Namwa') เป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักมาตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมปลูกกันแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว และนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน กล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด ได้แก่ พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ โดยพบว่ากล้วยน้ำว้า 1 ผล ให้พลังงานประมาณ 59 กิโลแคลอรี่ เป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานได้ทุกวัย ตั้งแต่วัยทารกอายุ 6 เดือนเต็ม เด็กปฐมวัย นักเรียน วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

 

(ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/blog/content/58118)
 
โดยการบริโภคกล้วยน้ำว้าในแบบต่างๆ จะให้ประโยชน์แตกต่างกัน ดังนี้
       1. กล้วยน้ำว้าดิบ ช่วยแก้โรคกระเพาะอาหารได้ดี เนื่องจากมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้ ป้องกันการติดเชื้อ กล้วยดิบไม่สามารถรับประทานสดได้ วิธีรับประทานให้นำกล้วยมาฝานเป็นแว่นๆ แล้วอบด้วยความร้อนต่ำไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส จนแห้ง จากนั้นนำมาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
       2. กล้วยน้ำว้าห่าม หรือกล้วยกึ่งดิบกึ่งสุก สามารถรับประทานสดได้ รสชาติไม่หวานจัด ช่วยแก้ท้องเสีย เนื่องจากมีปริมาณโพแทสเซียมสูง หากผู้ที่มีอาการท้องเสียรับประทานกล้วยห่าม สามารถช่วยชดเชยโพแทสเซียมให้กับร่างกาย และทำให้อาการท้องเสียบรรเทาลง 
 
                                                         กล้วยน้ำว้าดิบ                                                                                            กล้วยน้ำว้าห่าม
 
                                                        
 

                              (ที่มา : http://www.tnews.co.th/contents/lt/454544)                        (ที่มา : https://www.postsod.com/raw-bananas-impulsive-ripe-dome)

       3. กล้วยน้ำว้าสุก มีรสชาติอร่อย ผู้บริโภคนิยมรับประทาน ช่วยแก้ท้องผูก เนื่องจากมีสารเพคติน (Pectin) ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้อยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหาร และยังมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก (Prebiotic) ตามธรรมชาติ สามารถช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี 
       4. กล้วยน้ำว้างอม กล้วยมีสีเหลืองเข้มคล้ำๆ เนื้อกล้วยค่อนข้างเละ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมนำมารับประทาน แต่ในทางกลับกันกล้วยงอมกลับมีประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ต้านโรคมะเร็ง ทำให้มีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกล้วยที่มีจุดดำมากๆ ก็จะยิ่งมีสารเสริมภูมิต้านทานมากด้วย
 
                                                      กล้วยน้ำว้าสุก                                                                                               กล้วยน้ำว้างอม
                                                    
                      (ที่มา : http://sukkaphap-d.com/15-สรรพคุณประโยชน์ของกล/)                                (ที่มา : https://health.kapook.com/view105645.html)
 
       การบริโภคกล้วยน้ำว้านอกจากจะให้คุณประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยบรรเทารักษาโรคต่างๆ ได้อีกมากมาย คือ
            - โรคโลหิตจาง กล้วยน้ำว้ามีธาตุเหล็กสูง ซึ่งเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด และช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง
            - โรคความดันโลหิตสูง ในกล้วยมีปริมาณโพแทสเซียมสูง และมีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ดี
            - โรคเบาหวานและช่วยควบคุมน้ำหนัก กล้วยน้ำว้าสามารถป้องกันการเป็นโรคเบาหวานและควบคุมน้ำหนักได้ เมื่อรับประทานในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากกล้วยน้ำว้า 1 ผล มีน้ำตาลประมาณ 3-5 กรัม และหากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะจะทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักได้
            - ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้าได้
            - แก้ผื่นคัน เด็กที่ผิวหนังเป็นตุ่มคันจากยุงกัด มดกัด หรือเป็นผื่นคันเนื่องจากลมพิษ สามารถใช้เปลือกกล้วยน้ำว้าสุกด้านในทาบริเวณนั้นประมาณครึ่งนาที อาการคันจะลดลง และเปลือกกล้วยยังมีฤทธิ์ในการต้าน  เชื้อราและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้
            - แก้เจ็บคอ เจ็บหน้าอก กล้วยน้ำว้าช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ หรืออาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้งๆได้ โดยรับประทานกล้วยวันละ 5-6 ผล จะช่วยให้อาการระคายเคืองลดน้อยลง
            - ลดความเครียด กล้วยน้ำว้ามีโพแทสเซียมซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ การส่งออกซิเจนไปยังสมอง และปรับสมดุลน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย เวลาเกิดอารมณ์เครียด อัตรา Metabolic ในร่างกายจะสูงขึ้น และทำให้ระดับโพแทสเซียมลดลง แต่เมื่อรับประทานกล้วยน้ำว้าจะช่วยให้เกิดความสมดุล อีกทั้งกล้วยน้ำว้ายังมีสารทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเมื่อหลั่งออกมาจะทำให้มีความสุข
            - ดับกลิ่นปาก กล้วยน้ำว้ามีสรรพคุณช่วยลดกลิ่นปากได้ดี โดยให้กินกล้วยหลังตื่นนอนทันที แล้วค่อยแปรงฟัน ทำให้สามารถช่วยลดกลิ่นปากได้
 
       ทั้งนี้ นอกจากผลกล้วยน้ำว้า ส่วนอื่นๆ ของกล้วยยังมีสรรพคุณทางยา คือ 
       1. ยาง ช่วยสมานแผล ใช้ห้ามเลือด   
       2. หัวปลี แก้โรคในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โลหิตจาง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ขับน้ำนม 
       3. ใบ นำมาปิ้งไฟใช้รักษาแผลไฟไหม้ ต้มกับน้ำใช้อาบแก้ผดผื่นคัน ห้ามเลือด และรักษาแผลสุนัขกัด
       4. ราก แก้ขัดเบา   
 
                                                  หัวปลีใช้รักษาโรคเบาหวาน                                                               ใบตองอ่อนใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
 
                                                        
 
                              (ที่มา : https://www.ntbdays.com/onsornisan/5103)                                (ที่มา : http://updatetoday.in.th/ผลวิจัยเผย-ใบตองอ่อนสาม/)
 
       จะเห็นได้ว่า กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสรรพคุณและประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ซึ่งการบริโภคกล้วยน้ำว้าเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1-2 ผล ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี และมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มมากขึ้นด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข. เคล็ดลับ กล้วย กล้วย ช่วยสุขภาพ.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2561]. 
       เข้าถึงจาก : file:///C:/Users/SI4-22/Downloads/35845%20(2).pdf
กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน. กล้วยน้ำว้า สุดยอดผลไม้ชั้นเลิศเป็นได้ทั้งอาหารและยา. 
       กล้วยน้ำว้า สร้างชาติ สร้างเงิน, กรุงเทพฯ : มติชน, 2558, หน้า 27-31.
สุทธิชัย  ปทุมล่องทอง. รู้จักกล้วยน้ำว้า. กล้วย สุดยอดอาหารโภชนาการ, กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2554, หน้า 65-81.
เทคโนโลยีชาวบ้าน. เคล็ดลับกินกล้วยน้ำว้า ดิบ ห่าม สุก งอม ได้ประโยชน์ต่างกัน.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2561]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_33765