ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ถ่านดูดกลิ่น คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำถ่านมาบดให้มีความละเอียดตามต้องการ อาจเติมสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการดูดกลิ่น เช่น ชา สะเดา บรรจุในภาชนะบรรจุ หรืออัดเป็นรูปทรงต่างๆ อาจแต่งสี หรือได้จากการนำผลไม้ หรือส่วนต่างๆ ของพืช มาเผาในที่อับอากาศจนกลายเป็นถ่านโดยยังคงรูปทรงผลไม้ หรือส่วนต่างๆ ของพืชไว้เช่นเดิม ถ่านดูดกลิ่นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในปัจจุบัน คือ ถ่านผลไม้ มีคุณสมบัติสามารถดูดกลิ่นได้ดี รูปทรงสวยงาม และใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง

 

(ที่มา : http://siweb.dss.go.th/bct/fulltext/report/otop12.pdf)

       การผลิตถ่านผลไม้เกิดจากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีต โดยนำผลไม้ชนิดต่างๆ มาเผาจนเป็นถ่านที่ยังคงรูปทรงผลไม้ไว้เหมือนเดิม ผลไม้ที่นิยมนำมาใช้มีทั้งผลไม้เปลือกแข็งและเศษวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตร เช่น ทุเรียน ส้มโอ สับปะรด มังคุด กล้วย มะม่วง น้อยหน่า มะพร้าว ลูกตาล ขนุน ลูกท้อ ฝักบัว ซังข้าวโพด รวมไปถึงกระบอกไม้ไผ่ วัตถุดิบที่นำมาเผาแต่ละชนิดมีขนาดรูปทรงสมบูรณ์ ผลไม้บางชนิดต้องมีจุก มีขั้วติด ได้แก่ มะพร้าว ลูกตาล มังคุด ขนุน และทุเรียน ส่วนกล้วยอาจแยกผลหรือเผาเป็นหวีก็ได้ หากเป็นกระบอกไม้ไผ่ต้องตัดให้มีความยาวและลักษณะเท่าๆ กับกระบอกข้าวหลาม

 

                                                            

                    (ที่มา : http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/             (ที่มา : http://farmkaset.blogspot.com/                   (ที่มา : https://www.springnews.co.th/
                                2560_65_204_p29.pdf)                                   2013/07/blog-post_2.html)                                              view/70474)
 
                                                            
 
                    (ที่มา : http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/            (ที่มา : http://www.thaibizwisdom.com/                   (ที่มา : http://www.thaibizwisdom.com/
                                2560_65_204_p29.pdf)                                     ถ่านดูดกลิ่น-ไอเดียสร้า/)                                            ถ่านดูดกลิ่น-ไอเดียสร้า/)
 
       ทั้งนี้ คุณภาพของถ่านผลไม้ที่เกษตรกรผลิตได้อาจยังไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากมีการแตกหักเสียหาย คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่สม่ำเสมอ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถป้องกันความเสียหายของถ่านผลไม้ได้ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของถ่านผลไม้ดูดกลิ่น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ถ่านดูดกลิ่น (มผช.180/2560) ซึ่งได้กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการไว้ ดังนี้
       1. ลักษณะทั่วไป ต้องแห้ง อาจเป็นชิ้น ท่อน เม็ด ผง ไม่มีสิ่งแปลกปลอม ไม่มีราปรากฏ กรณีรูปทรงตามธรรมชาติของวัสดุที่นำมาใช้ทำหรืออัดขึ้นรูป อาจแตกหักได้บ้างเล็กน้อย
       2. การทดสอบประสิทธิภาพ เป็นการทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับสารละลายไอโอดีน ถ้าถ่านสามารถดูดซับสารละลายไอโอดียได้ดี แสดงว่ามีพื้นที่ในการดูดซับมาก ส่งผลทำให้สามารถดูดซับกลิ่นได้ดีตามไปด้วย โดยมาตรฐานกำหนดความสามารถในการดูดซับสารละลายไอโอดีน ต้องไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/กรัม
       3. ความชื้น ต้องไม่เกินร้อยละ 8 โดยน้ำหนัก
       4. บรรจุภัณฑ์ ให้บรรจุในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง เรียบร้อย และสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับถ่านได้ พร้อมทั้งระบุน้ำหนักสุทธิหรือจำนวนชิ้นของถ่านในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องมีไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก
       โดยกระบวนการผลิตถ่านผลไม้ ของสำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นการเผาในเตาเผาในสภาวะอับอากาศ ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิระหว่างการเผาได้อย่างสม่ำเสมอ ที่อุณหภูมิ 300-450 องศาเซลเซียส ทำให้การเสียหายของผลิตภัณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 20 ถ่านผลไม้ที่ได้มีรูปทรงสวยงาม และมีค่าไอโอดีนประมาณ 180-300 มิลลิกรัม/กรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของถ่านผลไม้นั้นๆ ซึ่งผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
 
                                      
(ที่มา : http://siweb.dss.go.th/bct/fulltext/report/otop12.pdf)
 
       ปัจจุบันถ่านผลไม้ดูดกลิ่นกลายเป็นสินค้า OTOP ที่สำคัญของหลายชุมชน เพราะนอกจากช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถสร้างรายได้เป็นจำนวนมากให้กับคนในชุมชนแล้ว ยังช่วยเกษตรกรแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด และมีราคาตกต่ำอีกด้วย ดังนั้น การผลิตถ่านผลไม้ดูดกลิ่นจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เหมาะสม ช่วยเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
 
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ถ่านดูดกลิ่น มผช.180/2560.  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2561].  เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0180_60(ถ่านดูดกลิ่น).pdf 
สำนักเทคโนโลยีชุมชน  กรมวิทยาศาสตร์บริการ. การผลิตถ่านผลไม้ดูดกลิ่นและประดับตกแต่ง.  [ออนไลน์]
       [อ้างถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2561].  เข้าถึงจาก : http://siweb.dss.go.th/bct/fulltext/report/otop12.pdf
สำนักเทคโนโลยีชุมชน  กรมวิทยาศาสตร์บริการ. ผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งและถ่านผลไม้ดูดกลิ่น. [ออนไลน์]
       [อ้างถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2561].  เข้าถึงจาก : http://otop.dss.go.th/files/report/OTOP_charcoal.pdf
อรุณ  คงแก้ว. ถ่านผลไม้เพื่อใช้ดูดกลิ่นและประดับตกแต่ง. สาระน่ารู้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, มีนาคม, 2548, 
       หน้า 1-2. (แฟ้มประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง (CF 102), A5)